วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติเจ้าพ่อพระยาแล เมืองชัยภูมิ




พระยาภักดีชุมพล (แล) ผู้สร้างเมืองชัยภูมิ และเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ชาวเมืองชัยภูมินิยมเรียกขานท่านด้วยความยกย่องนับถือว่า "เจ้าพ่อพญาแล"
พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ"แล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (ขณะนั้นตกเป็นประเทศราชของไทยแล้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก
ใน พ.ศ. 2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2367 ได้ที่การพบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีขุมพลจึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า เมืองชัยภูมิ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองชัยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป             พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก สร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก
ในปี พ.ศ.2369 ได้เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพล (แล) และเจ้าเมืองสี่มุม (อ.จัตตุรัส จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ได้ยกทัพไปช่วยคุณหญิงโมตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป แต่ในขณะที่ทัพเจ้าอนุวงศ์กำลังแตกพ่ายนั้น เจ้าอนุวงศ์ได้สั่งให้ เจ้าสุทธิสาร (โป๋) ผู้เป็นบุตร ยกกองทัพส่วนหนึ่งไปยึดเมืองชัยภูมิและเมืองภูเขียว (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต่อต้านกองทัพจากกรุงเทพฯ
 

เจ้าสุทธิสารหลังจากที่ยกทัพถึงเมืองชัยภูมิแล้วนั้น ได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นพวก แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม ด้วยยังจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พวกเจ้าอนุวงศ์โกรธมาก จึงฆ่าพระยาภักดีชุมพลเสียที่บ้านหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้ระลึกถึงพระคุณท่านจึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น บัดนี้ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย ชื่อว่า ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล) มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายในเป็นที่เคารพกราบไหว้ ถือว่าเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดประมาณ ก.ม. วีรกรรมครั้งนั้นจึงเป็นที่เคารพยกย่องท่านเป็น เจ้าพ่อพญาแล มาจนกระทั่ง

สถานที่ท่องเที่ยวและโบราณสถานของจังหวัดชัยภูมิ


วัดเขาประตูชุมพลพุทธธรรม
วัดเขาประตูชุมพลพุทธธรรม ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ         มีอาณาเขตติดกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นวัดที่ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าไม้เบญจพรรณนานาชนิด มีความสวยงาม เงียบสงบ เป็นที่สัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม มีอาคารที่พัก และ โรงครัว สามารรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมได้จำนวนมาก
หมู่บ้านชาวบน (มอญญักุร)
“หมู่บ้านชาวมอญบน (มอญญัฮกุร)”  ชาวบ้านเรียกตนเองว่า "เนียะกุล" หรือ "ญัฮกุร" มีความหมายว่าคนภูเขา คนชัยภูมิเรียกชาวบน เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเตี้ย ๆ แถบบริเวณด้านในของริมที่ราบสูงโคราช  
พระแท่นบัลลังค์
พระแท่นบัลลังค์”  ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ   เป็นโบราณวัตถุที่สร้างด้วยหินทราย   มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   ขนาดกว้าง  ๑ คืบ ๙ นิ้ว ยาว ๑ ศอก ๑๑ นิ้ว ตรงกลางเจาะรูเล็กๆ เพื่อรองรับเดือยของรูปประติมากรรม
ใบเสมาบ้านกุดโง้ง
 โบราณวัตถุ
            โบราณวัตถุหมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต สามารถเคลื่อนที่ได้ เป็นหลักฐานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
 

วัดพระพุทธบาทภูแฝด
“วัดพระพุทธบาทภูแฝด”  ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ    ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับวัดศิลาอาสน์ ภูพระ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ (ชัยภูมิ-แก้งคร้อ)





พระธาตุกุดจอก
“พระธาตุกุดจอก”   ตั้งอยู่ที่บ้านยางน้อย  ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์  จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง  สร้างขึ้นตามคตินิยมทางพุทธศาสนา พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
พระธาตุพีพวย
พระธาตุพีพวย”   ตั้งอยู่ที่บ้านพีพวย  ตำบลสระโพนทอง   อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ   เป็นโบราณสถานสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง สร้างขึ้นตามคตินิยมทางพุทธศาสนา  พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล
“พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล” ตั้งอยู่ที่  วัดศิริพงษาวาส  ตำบลบ้านกอก    อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ   มีอุโบสถเป็นรูปเจดีย์  เรียกว่า พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล   ยอดพระธาตุเจดีย์บรรจุพระธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
แท่นศิวลึงค์ภูโค้ง
แท่นศิวลึงค์ภูโค้ง”   ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  เป็นโบราณวัตถุสมัยวัฒนธรรมขอม  สร้างขึ้นตามคตินิยมทางศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย      มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖
ปรางค์บ้านตาล
ปรางค์บ้านตาล”  ตั้งอยู่ที่บ้านตาล ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพเป็นเนินโบราณ จำนวน ๒ เนิน อยู่ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เมตร ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก  เนินแรกมีขนาด ๓๐x๔๐ เมตร   เนินที่สองมีขนาด ๒๐x๒๕ เมตร






สินค้าOTOP ของจังหวัดชัยภูมิ


รายชื่อสินค้า
ชื่อสินค้ารายละเอียดตำบล
กรองคอ (2 ดาว ปี 2552)กรองคอ (รหัสโอทอป 361000015203)ตำบลโคกสะอาด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
กระเช้าดอกไม้จากรังไหมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากรังไหมมาเป็นกระเช้าดอกไม้จากรังไหม (OTOP)ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
กระเช้าดอกไม้จากรังไหมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากรังไหมมาเป็นกระเช้าดอกไม้จากรังไหม (OTOP)ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
กระเช้าดอกไม้ประดิษฐ์กระเช้าดอกไม้ประดิษฐ์ (ดอกกระเจียว, ดอกลิลลี่, ดอกแกนดิออรัส) (81047)ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
กระเช้าดอกไม้ประดิษฐ์กระเช้าดอกไม้ประดิษฐ์ (ดอกลิลลี่, ดอกแกนดิออรัส, ดอกทิวลิป) (81047)ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว รูปหัวใจ (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว รูปมะม่วง (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
กระติบข้าวกระติบข้าว (161052)ตำบลศรีสำราญ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

บุคคลสำคัญของจังหวัดชัยภูมิ


ภิกษุสงฆ์


              ประวัติอาจารย์พิทูร มลิวัลย์           อาจารย์ ดร.พิทูร มลิวัลย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก จัตุรถาณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย และตริตาภรณ์ช้างเผือก
          อาจารย์ ดร.พิทูร มลิวัลย์ ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งและไตวายในวันพุทธที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมอายุ ๖๘ ปี
 
              พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นครไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม "พระมหาสมปอง" เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพ.ศ. 2541 ปัจจุบันพระมหาสมปองจำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร
              พระมหาสมปอง เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และนักบรรยายธรรมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานและหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน จนได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่นรางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น

นักแสดง
              อรวรรษา ฐานวิเศษ (ชื่อเล่น: เมษ์) หรือชื่อเดิมคือ บัณฑิตา ฐานวิเศษ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2524 เป็นนักแสดงชาวไทย รับบทนางเอก ในละครเรื่อง ขุมทรัพย์แม่น้ำแคว และก็มีละครอื่นๆตามมาเช่น ชะชะช่าท้ารัก โลกสองใบของนายเดียว และพลิกบทบาทเล่นร้ายใน"นางทาส" และก็เล่นสลับบทไปมาระหว่างบทร้านักมวยและนางเอก

นักมวย
             ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ หรือนายวิชา ภูลายขาว เกิดเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่ จ.ชัยภูมิ สถิติการชก 39 ครั้ง ชนะ 32 (น็อค 16) เสมอ 2 แพ้ 5

เกียรติประวัติ

  •  แชมป์ ABC รุ่นไลท์ฟลายเวท
    • ชิง 21 พฤศจิกายน 2544 ชนะคะแนน เชี่ยวชาญ ธนเศวต ที่ ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
    • พ.ศ. 2547 ถูกปลด
  •  แชมป์ ABC รุ่นมินิมัมเวท

นักร้อง
             การะเกด เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงสไตล์อีสานหน้าใหม่ ที่เพิ่งมีผลงานเพลงเพียง 2 ชุด แต่มีผลงานเป็นที่รู้จักหลายเพลง

   ประวัติ

การะเกด มีชื่อจริงว่า ธรรมพร จุ่มจัตุรัส เกิดเมื่อวันที่ 29 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นชาวจังหวัดชัยภูมิ มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน มีพ่อเป็นภารโรงและแม่ขายอาหารในโรงเรียนที่ พ่อของเธอทำงานเป็นภารโรงครอบครัวชอบเพลงลูกทุ่งมากๆและมักพาเธอไปประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและคอยให้กำลังใจลูกสาวพ่อของเธอเขียนเพลงลูกทุ่งไว้เยอะมากและอยากทำอัลบั้มให้ลูกสาวนำเสนอค่ายเทปอยู่เหมือนกันแต่เธอยังไม่พร้อมเพราะอยากเรียนหนังสืออย่างเดียวและไม่คิดเอาดีด้านการร้องเพลงจึงหันไปจัดรายการวิทยุเพื่อหารายได้ส่งตัวเองเรียน โดยเธอจัดรายการอยู่ที่วิทยุชุมชนจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ คลื่น FM 95.0 Mhz. โดยช่วงแรกจัดรายการแนวเพลงสตริง ส่วนช่วงที่สองจัดรายการ เพลงลูกทุ่งและเป็นพูดคุยสื่อสาร ข่าว สาระ เรื่องราวที่อยู่ในท้องถิ่น

ขนบธรรมเนียมและประเพณีวัฒนธรรมของชัยภูมิ



   ศิลปะ-วัตนธรรม-ประเพณี

งานฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล 


ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด และสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ช่วงเดือนมกราคมของทุกปี มีขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ มีการประกวดผลิตผลทางการเกษตร


งานแห่เทียนเข้าพรรษา 
 

เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปี ประมาณเดือนกรกฎาคม มีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม มีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี
งานบุญบั้งไฟ 
หรือบุญเดือนหก จัดประมาณเดือนพฤษภาคม


งานบุญข้าวจี่ 
เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา จัดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 


งานบุญพระเวส 
หรืองานบุญเดือนสี่ จัดประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ


งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล 
จัดที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า ระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปี ชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่า


ประเพณีรำผีฟ้า 

 


เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระ ซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักหินทราย ที่ชาวบ้านเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษ


งานบุญเดือนสี่ เป็นงานประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร ในวันขึ้น 1-3 ค่ำ เดือน 5 ราวกลางเดือนมีนาคม ในงานนี้ชาวบ้านจะนิยมเล่นสะบ้า แข่งขันกันเพื่อชิงรางวัล และความสนุกสนานในบริเวณวัดเจดีย์ อำเภอคอนสาร